วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

งานช่างไฟฟ้า

ความหมายของงานช่างไฟฟ้า

                            
                         งานไฟฟ้า หมายถึง การปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับไฟฟ้าในการสร้างหรือผลิต การซ่อมแซม การปรับปรุง การติดตั้งอุปกรณ์หรือ วงจรไฟฟ้าด้วยความปลอดภัย เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ในการดำรงชีวิตประจำวัน
งานไฟฟ้ามีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ดังนี้
1. งานไฟฟ้าใช้ในการสร้างเครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ให้พลังงานความร้อน พลังงานแสงสว่าง พลังงานกล ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง เช่น เครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องปรับอากาศ หลอดไส้ หลอดฟลูออเรสเซนต์ ลิฟต์ บันไดเลื่อน
เป็นต้น
2. งานไฟฟ้าช่วยพัฒนาระบบสื่อสาร คมนาคม ให้สะดวกเจริญก้าวหน้า เช่น วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์
รถไฟฟ้า เป็นต้น
3. งานไฟฟ้าช่วยพัฒนาระบบการผลิตสินค้าของโรงงานอุตสาหกรรม

อ้างอิง :  http://www.krusam.net/krusam.htm

การใช้งานอุปกรณ์งานช่างไฟฟ้าและการดูแลรักษาเครื่องมืองานช่างไฟฟ้า
                                    


1.ค้อน  สำหรับใช้งานไฟฟ้ามีหลายชนิด  เช่น  ค้อนหงอน  ทำด้วยเหล็กด้านหน้าเรียบ  หงอนด้านบนใช้ถอนตะปู  ค้อนเหลียมเล็กใช้ตอกตะปูในการเดินสายไฟ 
วิธีใช้และการบำรุงรักษา
    การใช้ค้อนมีข้อควรระวังและวิธีใช้ดังนี้   
1)  อย่าใช้ค้อนงัดจนเกินกำลังจะทำให้ด้านค้อนหัก   
2)  รักษาผิวหน้าค้อนให้ราบเรียบเสมอกัน   
3)  ห้ามใช้ค้อนที่ชำรุด   
4)  หลังใช้งานแล้ว  ควรเช็ดให้สะอาด  ทาด้วยน้ำมัน เก็บไว้ในที่เก็บเครื่องมือ


                                                

2.คีม  คีมเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการเดินสายไฟมาก  ใช้ตัด  ดัด  งอ  โค้งและปอกสายไฟ  คีมที่มีด้ามเป็นฉนวนหุ้ม  จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานมีความปลอดภัยในการทำงาน  คีมที่ใช้ในการเดินสายไฟพอจะแยกออกได้เป็น  4  ชนิด  คือ  คีมปอกสายและตัดสาย  คีมปากจระเข้  คีมปากจิ้งจก  และคีมย้ำหัวต่อสาย
วิธีใช้และการบำรุงรักษา
    1)  ใช้คีมให้เหมาะกับงาน   
2)  ไม่ใช้คีมขันสกรูหรือเกลียว  เพราะจะทำให้ปากคีมเยิน   
3)  ไม่ควรใช้คีมต่างค้อน   
4)  ก่อนใช้ตรวจฉนวนหุ้มให้เรียบร้อย  ถ้าชำรุดห้ามใช้   
5)  เมื่อเลิกใช้ควรทำความสะอาดเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย



3.  ไขควง  ไขควงเป็นเครื่องมือที่จำเป็นอย่างยิ่งในงานไฟฟ้าเล็กๆ น้อยๆ ในบ้าน  เช่น  ต่อฟิวส์ ใส่สวิตซ์ใส่ดวงโคม  ขันตะปูเกลียวหรือสกรูให้แน่น  ถอนตะปูเกลียวออกจากที่ยึด  ไขควงมีหลาย ชนิดตามลักษณะที่ใช้งาน คือ  ไขควงปากแบน  ไขควงปากสี่แฉก  ไขควง
วิธีใช้และการบำรุงรักษา
1)  ไม่ควรใช้ไขควงแทนสกัดหรือค้อน   
2)  ไม่ควรใช้ไขควงที่เปื้อนน้ำมัน  เพราะอาจเกิดพลาดพลั้งกระแทกมือได้   
3)  ควรเลือกใช้ไขควงที่มีปากลักษณะเดียวกับชนิดของหัวสกรู   
4)  การใช้ไขควง  ควรจับที่ด้ามของไขควง  ไม่ควรใช้คีมจับด้ามไขควงขันสกรู   
5)  ใช้ไขควงที่มีด้านเป็นฉนวนในงานช่างไฟฟ้า   
6)  ถ้าไขควงชำรุดต้องซ่อมทันที   
7)  หลีกเลี่ยงการใช้ไขควงถอดหรือคลายสกรูเก่าที่ชำรุด   
8)  เมื่อเลิกใช้แล้วควรทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
                           







6.  เลื่อย  เลื่อยมีหลายชนิดหลายแบบทั้งขนาดและรูปร่าง  เลื่อยที่ใช้สำหรับงานช่างไฟฟ้า  คือเลื่อยปากไม้หรือเลื่อยรอปากไม้  เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  สันด้านบนเป็นเหล็กหนา มีฟันเลื่อยละเอียด  ใช้สำหรับตัดปากไม้ในการเข้าไม้ต่างๆ  ให้ประณีตเรียบร้อย
วิธีใช้และการบำรุงรักษา
    1)  อย่าปล่อยให้ใบเลื่อยเปียกน้ำ  ควรเก็บไว้ในที่แห้ง ไม่ชื้น    2)  เมื่อแต่งฟันเลื่อย  พยายามให้ฟันเลื่อยอยู่ในรูปเดิม    3)  อย่าวางเลื่อยให้ถูกแดดร้อนจัด    4)  เมื่อเลิกใช้แล้วต้องทำความสะอาดชโลมด้วยน้ำมัน  เก็บเข้าที่ให้เรียบ


7.  หัวแร้งบัดกรี  หัวแร้งที่ใช้ในการบัดกรี  เพื่อเชื่อมหรือประสาน  มีอยู่  2  ชนิดคือ หัวแร้งชนิดเผาด้วยถ่าน  และหัวแร้งไฟฟ้า  หัวแร้งไฟฟ้าเหมาะที่จะใช้กับงานเดินสายไฟ  และงานซ่อม  งานประสานเล็กๆ  น้อยๆ  ที่ใช้ความร้อนไม่มากนัก
วิธีใช้และการบำรุงรักษา
    1)  ต้องรักษาปลายหัวแร้งให้สะอาดอยู่เสมอ    2)  อย่าให้หัวแล้งบัดกรีร้อนจัดเกินไป    3)  หัวแร้งเมื่อใช้แล้วต้องจุ่มน้ำกรดอย่างเจือจาง แล้วจึงเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย





4.  สว่านเจาะไม้  สว่านเจาะไม้ใช้ในการเดินสายไฟมาก เพราะบางครั้งต้องเจาะรู  เพื่อยึดอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น  พุกประกับลูกถ้วย กล่องไม้  ร้อยสาย  เป็นต้น  สว่านเจาะไม้มีหลายแบบหลายขนาด  เช่น  สว่านข้อเสื่อ  สว่านเฟือง  สว่านมือชนิดกระแทก  สว่านมือด้ามเหล็กและสว่านไฟฟ้าซึ่งใช้เจาะได้ทั้งไม้และผนังตึก  ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน
วิธีใช้และการบำรุงรักษา   
1)  เลือกสว่านให้เหมาะสมกับงาน   
2)  ใส่ดอกสว่านให้ตรงแน่นก่อนใช้งาน   
 3)  ขณะเจาะต้องตั้งดอกสว่านให้ตั้งฉากกับชิ้นงาน  จับชิ้นงานไว้ให้แน่น   
4)  ถ้าต้องการเจาะรูโต  ควรใช้ดอกสว่านเล็กนำก่อน    
5)  ขณะเจาะควรคลายให้เศษวัสดุบ้างเพื่อลดแรงกดทั้งป้องกันมิให้ดอกสว่านร้อนและหัก    
6)  หากชิ้นงานที่เจาะเป็นไม้  ก่อนทะลุควรกลับไม้เจาะด้านตรงข้ามเพื่อป้องกันไม่ให้แตก   
7)  การเจาะด้วยสว่านไฟฟ้าไม่ควรล็อกปุ่มกดสวิตซ์  และต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ   
8)  เมื่อเลิกใช้งานให้ถอดคอกสว่านออกจากตัวสว่าน  ทำความสะอาด  เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

                        

5.  มีด  มีดใช้สำหรับตัด  ปอก  ขูดหรือทำความสะอาดสายไฟ  ใช้มากในการเดินสายไฟฟ้า
วิธีใช้และการบำรุงรักษา
การปอกสายไฟควรตะแคงมีดทำมุม
  45  องศา  กับสายไฟลักษณะเดียวกับการเหลาดินสอ  อย่ากดใบมีดลึกจนเกินไป  เพราะใบมีอาจตัดถูกลวดทองแดงภายในขาด  หรือ ชำรุดเสียหายได้


                             


8.  เครื่องมือวัดไฟฟ้า เครื่องมือวัดไฟฟ้า  เช่น  มัลติมิเตอร์  ใช้วัดได้หลายอย่าง คือ โวลต์  แอมแปร์และโอห์ม
วิธีใช้และการบำรุงรักษา
1)  ศึกษาวิธีใช้เครื่องมือวัดให้เข้าใจก่อนใช้ เพราะหากใช้ผิดจะเกิดความเสียหายได้ 
2)
  เลือกใช้เครื่องวัดให้ถูกกับชนิดของกระแสไฟฟ้า
3)
  ใช้แล้วต้องเก็บรักษาให้ดี อย่าให้ตกหรือกระทบกระเทือนมากๆ อาจชำรุดหรือเกิดความเสียหาย
    
9.  สายไฟฟ้า  เป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าให้ไหลผ่านไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าจนครบวงจร  สายไฟแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ ชนิดสายเปลือย และชนิดสายหุ้มฉนวน
            สายเปลือย เป็นสายที่ไม้มีฉนวนหุ้ม มักจะเป็นสายขนาดใหญ่ ใช้กับงานไฟฟ้าแรงสูง
  มีทั้งสายที่ทำด้วยทองแดง และสายชนิดผสมอะลูมิเนียม สายไฟฟ้าตามถนนที่เป็นสายเปลือย ถ้าสัมผัสแม้โดยทางอ้อมก็อาจเกิดอันตรายได้
            สายหุ้มฉนวน
  มักจะมีฉนวนหุ้มในลักษณะต่างๆ ฉนวนที่หุ้มสายอาจเป็นยาง ด้าย ไหม พีวีซี สายหุ้มฉนวนเป็นสายที่นิยมใช้กันตามอาคารบ้านเรือน  เพราะราคาถูกและใช้งานได้ดี
สายไฟฟ้ามีหลายขนาด
  การเลือกใช้สายไฟให้เหมาะสมกับการใช้สอยจึงเป็นสิ่งจำเป็น
การเลือกใช้ขนาดสายไฟฟ้าในบ้าน (สายไฟฟ้าที่ใช้กับอุณหภูมิไม่เกิน
  40  องศาเซลเซียส
10.  เข็มขัดรัดสาย  เข็มขัดรัดสายทำด้วยอลูมิเนียม มีรูตรงกลาง 1 - 2 รู  แล้วแต่ขนาดของเข็มขัดรัดสายซึ่งมีขนาดเบอร์ต่างๆ กันตั้งแต่เบอร์ 0 - 6 รูตรงกลางนี้ใช้สำหรับตอกตะปูยึดกับผนังให้แน่น เข็มขัดรัดสายเบอร์ 0 สำหรับสายที่มีขนาดเล็กเส้นเดียว เข็มขัดรัดสายขนาดใหญ่ใช้กับสายไฟขนาดใหญ่ หรือสายไฟขนาดเล็กหลายๆ เส้นรวมกัน
11.  ตุ้ม  ตุ้มหรือลูกถ้วยใช้สำหรับเดินสายนอกอาคาร  หรือในโรงฝึกงาน  เพื่อยึดสายให้แน่น เช่น ยึดสายไฟจากบ้านไปยังเสาไฟฟ้า ตุ้มมีหลายขนาดทั้งเล็กและใหญ่ตามขนาดของสายไฟ


12.  ตลับและกล่องแยกสาย  ตลับและกล่องแยกสายมีลักษณะกลมๆ  มีฝาเกลียวปิด ทำด้วยพลาสติก มีรูเจาะออกโดยรอบ 4 รูเพื่อสายไฟฟ้า  สำหรับกล่องแยกสายมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า  มีทั้งชนิดที่ทำด้วยไม้  เหล็ก และ พลาสติกเจาะสายได้ตามความต้องการ  ตลับและกล่องแยกสายใช้สำหรับต่อแยกสายไฟ เพื่อนำไฟไปใช้ในจุดต่างๆ และเพื่อความเรียบร้อยปลอดภัย
13.  ผ้าพันสายไฟ ผ้าพันสายไฟเป็นฉนวนใช้สำหรับพันสายไฟ  เมื่อต่อสายไฟเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อป้องกันไฟฟ้าไม่ให้รั่ว  อาจทำให้เกิดอันตรายได้  ผ้าพันสายไฟฟ้ามีลักษณะเป็นม้วน  ทำด้วยวัสดุหลายอย่าง  เช่น  ยาง  ผ้า
14.  ฟิวส์  ฟิวส์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่ง  ซึ่งต่อไว้ในวงจรไฟฟ้าเพื่อป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้ามาเกินพิกัดของขนาดสายไฟ เพราะฟิวส์จะหลอมละลายตัดทางเดินของกระแสไฟ  ก่อนที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับไฟฟ้าขึ้น  ฟิวส์มีหลายชนิดและหลายขนาด  ได้แก่  ฟิวส์เส้นลวด  ฟิวส์ก้ามปู  และปลั๊กฟิวส์  ฟิวส์ก้ามปูและปลั๊กฟิวส์  สามารถเปลี่ยนได้ง่ายใช้สะดวก
15.  สะพานไฟหรือคัทเอาท์  เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ตัดต่อกระแสไฟฟ้าในวงจร  การใช้สะพานไฟ ต้องใช้ควบคู่กับอุปกรณ์อื่นๆ ด้วย เช่น ฟิวส์เส้นลวด
16.  ปลั๊ก  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อกระแสไฟฟ้าชั่วคราว  ไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้า  มีลักษณะต่าง ๆ กัน แบ่งได้ 2 ชนิด  คือ ชนิดปลั๊กเสียบหรือปลั๊กตัวผู้  และชนิดเต้ารับหรือปลั๊กตัวเมีย
17.  สวิตซ์  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตัดต่อวงจรไฟฟ้าเมื่อเราต้องการ  ส่วนใหญ่จะใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างภายในบ้านเรือน

ความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้า
 ปัจจุบันไฟฟ้ามีการจำเป็นต่อชีวิตประจำวันมาก ซึ่งไม่มีใครปฏิเสธถึงความสะดวกสบายที่ได้รับจากการใช้ไฟฟ้ารวมถึงงานอุตสาหกรรมและธุรกิจต้องใช้ไฟฟ้าเป็นปัจจัยสำคัญ ไฟฟ้ามีประโยชน์มากมายก็จริงแต่ในเวลาเดียวกันก็มีอันตรายอยู่ในตัวของมันเองถ้ารู้จักใช้ก็จะได้ประโยชน์มหาศาล  ถ้าใช้ผิดวิธีก็อาจจะได้รับอันตรายถึงชีวิต จึงควรเข้าใจและรู้พื้นฐาน
ทางด้านความปลอดภัยในการใช้ไว้บ้างเพราะความประมาทหรือเพิกเฉยต่อสิ่งที่เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยก็อาจนำมาสู่ความหายนะและการสูญเสียต่างๆในชีวิตประจำวันของเราตั้งแต่เช้าขึ้นมาไฟฟ้าเข้ามามีส่วนพัวพันกับการดำเนินชีวิตตลอดทั้งวันจนกระทั่งเข้านอนก็ยังใช้ไฟฟ้าแต่ทว่า    มาตรฐานความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในบ้านผู้ใช้ยังไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร
ดังนั้นความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้าจึงเป็นเรื่องที่ควรได้รับความสนใจ ในการศึกษาไฟฟ้าทำอันตรายให้แก่ร่างกายได้ผู้ที่จะได้รับอันตรายจากเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นเนื่องจากส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายบังเอิญไปแตะและต่อเป็นส่วนหนึ่งในวงจรไฟฟ้าหรือสัมผัสถูกสายสองเส้นหรือเพียงเส้นเดียวหรืออาจจะไปสัมผัสถูกวัตถุที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วไหลแต่เพียงจุดเดียวใน
ขณะที่ร่างกายส่วนอื่นสัมผัสอยู่กับพื้นดินครบวงจรทำให้เกิดอันตรายเเก่ร่างกายขึ้น
  ไฟฟ้าให้โทษแก่มนุษย์ ดังนี้
    1.เป็นอันตรายแก่ชีวิต
       สิ่งที่ทำให้เสียชีวิตหรือได้รับอันตรายเพียงบาดเจ็บ คือ การไหลของกระแสไฟฟ้า(วัดเป็นจำนวนแอมแปร์) ซึ่งจะมีปริมาณ เพียงเล็กน้อย   ถ้าเป็นกระแสไฟสลับก็สามารถจะทำอันตรายถึงเสียชีวิตได้ถ้าหากว่ากระแสไฟฟ้านั้นได้ไหลผ่านอวัยวะที่สำคัญ ๆ เช่น หัวใจ อันตรายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกายมีอาการ 4 อย่าง คือ
              1.1 กล้ามเนื้อแข็งตัว
              1.2 หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ และหยุดทำงาน
              1.3 เซลล์ภายในร่างกายถูกทำลาย
              1.4 ระบบประสาทชะงัก

    2.เป็นอันตรายต่อทรัพย์สิน
       อันตรายต่อทรัพย์สิน ได้แก่ การเกิดเพลิงไหม้และระเบิด ทำให้ทรัพย์สินเสียหายปีละมากๆ เนื่องจากความประมาท
หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
วิธีช่วยเหลือผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูด
  ข้อควรระวังในขณะช่วยเหลือผู้ถูกกระเเสไฟฟ้าดูดติดอยู่ อย่าใช้อวัยวะร่างกายของท่านแตะต้องร่างหรือเสื้อผ้าที่
เปียกชื้นของผู้ถูกไฟฟ้าดูดติดอยู่เป็นอันขาด มิฉะนั้นท่านอาจดูดไปด้วย การช่วยเหลือให้พ้นจากกระแสไฟฟ้าให้เลือกใช้วิธี
ใดวิธีหนึ่ง ดังนี้
      1. ตัดกระแสไฟฟ้าโดยปลดสวิตช์หรือคัทเอาท์ หรือเต้าเสียบออก
      2. หากตัดกระแสไฟฟ้าไม่ได้ ให้ใช้ไม้แห้ง หรือวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้าเขี่ยสิ่งที่มีกระแสไฟฟ้าออกไปให้พ้น
      3. ให้ใช้ผ้าหรือเชือกเเห้งคล้องแขน ขา หรือลำตัว ผู้ถูกไฟฟ้าดูดชักลากออกไปให้พ้นสิ่งที่มีกระแสไฟฟ้าหากผู้ถูก
         ไฟดูดสลบหมดสติให้ทำการปฐมพยาบาลให้ฟื้นต่อไป

ข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้า      1. อย่าใช้สวิทช์ปิด-เปิดไฟฟ้าบนเตียงนอน เพราะอาจพลิกตัวนอนทับแตก จะถูกไฟฟ้าดูดได้
      2. อย่าเปิดวิทยุหรือใช้ไฟฟ้าในห้องน้ำที่ชื้นแฉะ ถ้ากระแสไฟฟ้ารั่วอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
      3. อุปกรณ์ไฟฟ้าที่แตกชำรุด ควรซ่อมแซมหรือเปลี่ยนให้เรียบร้อย
      4. อย่าใช้ข้อต่อแยก เสียบปลั๊กหลายทาง เป็นการใช้กระแสไฟเกินกำลัง อาจทำให้สายร้อนและเกิดไฟไหม้ได้
      5. อย่าใช้วัสดุอื่นแทนฟิวส์ หรือใช้ฟิวส์เกินขนาด
      6. อย่าปล่อยให้สายเครื่องไฟฟ้า เช่น พัดลม ลอดใต้เสื่อหรือพรม เปลือกหุ้มหรือฉนวนอาจแตกเกิดไฟช๊อตได้ง่าย
      7. อย่าเดินสายไฟชั่วคราวอย่างลวก ๆ อาจเกิดอันตรายได้
      8. อย่าซ่อมระบบหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าเองโดยไม่มีความรู้
      9. อย่าเดินสายไฟติดรั้วสังกะสีหรือเหล็กโดยไม่ใช้วิธีร้อยในท่อ ไฟฟ้าอาจรั่วเป็นอันตรายได้
    10. อย่าปล่อยให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเปียกน้ำ เพราะน้ำจะเป็นสะพานให้ไฟฟ้ารั่วไหลออกมาได้
    11. อย่าใช้เครื่องมือไฟฟ้าที่ไม่มีฉนวนหุ้มเป็นที่จับ เช่น ไขควง หัวแร้ง เครื่องวัดไฟฟ้า ฯลฯ
    12. อย่านำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กระแสตรงไปใช้กับไฟกระแสสลับ ควรตรวจสอบให้ดีเสียก่อน
    13. สวิทช์และสะพานไฟ (Cut Out) ทุกแห่งต้องปิด-เปิดได้สะดวก
    14. อย่ายืนบนพื้นคอนกรีตด้วยเท้าเปล่าขณะปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า ควรใช้ผ้ายางหรือสวมใส่รองเท้า

ความปลอดภัยในปฏิบัติงานไฟฟ้า


      1. ก่อนปฏิบัติงานต้องตรวจดูเสียก่อนว่า เครื่องมือ และอุปกรณ์ ต่าง ๆ ที่ใช้ในงานไฟฟ้า ชำรุด  แตก หัก หรือเปล่า
      2. ก่อนปฏิบัติงาน เช่น การต่อสายไฟ ควรยกสะพานไฟ (Cut Out) ออกเสียก่อน
      3. ขณะทำงานไม่ควรหยอกล้อกันเป็นอันขาด
      4. ไม่ควรเสี่ยงอันตรายเมื่อไม่มีความแน่ใจ
      5. ขณะทำงานมือ เท้า ต้องแห้ง หรือสวมรองเท้า
      6. ก่อนปฏิบัติงาน ควรจะเขียนวงจรดูเสียก่อนเพื่อความไม่ประมาท
      7. เมื่อเสร็จงาน ก่อนจ่ายกระแสไฟฟ้า ควรตรวจสอบวงจรไฟฟ้าให้ละเอียดและถูกต้องเสียก่อน
      8. เมื่อจะจ่ายกระแสไฟฟ้าต้องดูให้แน่ใจ ว่าไม่มีใครปฏิบัติงานไฟฟ้าอยู่
      9. ไม่ควรนำฟิวส์ที่โตกว่าขนาดที่ใช้ หรือวัสดุอื่น ๆ เช่น ลวดทองแดงแทนฟิวส์
    10. รอยต่อสายไฟฟ้า ต้องใช้ผ้าเทปพันสายให้เรียบร้อยเสียก่อน
    11. ต่อวงจรให้เสร็จเสียก่อน จึงนำปลายสายทั้งคู่เข้าแผงสวิทช์
    12. สายเครื่องมือไฟฟ้าต้องใช้ชนิดหุ้มฉนวน 2 ชั้น ถ้าขาดต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งเส้น
 

เราจะป้องกันอันตรายได้อย่างไร

      กระแสไฟฟ้าที่ไหลไปตามทางเดินไฟฟ้านั้น ถ้ามีทางไหลของกระแสมากกว่าหนึ่งทางแล้ว กระแสไฟฟ้าจะไหลไปใน
ทางที่มีความต้านทานน้อยที่สุด ดังนั้น เพื่อให้ร่างกาย มีความต้านทาน มากมีกระแสไฟฟ้าผ่านน้อย หรือไม่ไหลผ่านเลย
จึงพอจำแนกวิธีป้องกันได้ดังนี้

      1.การต่อสายดิน (Ground)         เครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะมีโครงสร้างภายนอกเป็นโลหะ เช่น เครื่องซักผ้า ตู้เย็น เตารีด ปั๊มน้ำ สว่าน เป็นต้น
อุปกรณ์ ไฟฟ้าเหล่านี้ เมื่อมีการชำรุดของไฟฟ้า เช่น ฉนวนเสี่อมสภาพ หรือมีการแตกหักของฉนวน ทำให้สายไฟไปสัมผัส
กับโครงโลหะของเครื่องไฟฟ้านั้น ๆ กระแสไฟฟ้าก็สามารถรั่วไหล มายังโครงสร้างนั้นได้และเมื่อมีผู้นำอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้นๆ ในขณะที่ทำงานอยู่ กระแสไฟฟ้าก็จะไหลผ่านตัวผู้ทำงาน หรือผู้สัมผัสอุปกรณ์นั้นลงสู่ดินทำให้ได้รับอันตรายได้วิธีป้องกันอุบัติเหตุดังกล่าวคือ การต่อสายดินโดยใช้สายไฟฟ้าต่อกับโครงสร้างส่วนที่เป็นโลหะของอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นลงดิน เพื่อเป็นทางให้กระแสไฟฟ้าที่อาจจะรั่วไหลออกมาจากอุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านั้น  (เพราะเหตุเนื่องจากฉนวนเสื่อมสภาพหรือฉีกขาด)ไหลลงสู่ดินโดยผ่านทางสายดินที่ได้ต่อไว้ แทนที่จะไหลผ่านตัวผู้ใช้งานหรือผู้ที่ไปสัมผัสอุปกรณ์เหล่านั้น ซึ่งวิธีการป้องกันโดยใช้สายดินนี้เป็นวิธีมาตรฐานที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป

     อุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิดมีสายเดินต่อให้เรียบร้อยแล้ว ปลั๊กไฟที่ใช้งานจึงมี 3 ขาดังนั้น การนำมาใช้งานจึงควรจัดเตรียมเต้าเสียบที่มีสายดินพร้อมอยู่แล้ว คือ เดินสายไฟไว้ 3 เส้น โดยใช้เส้นหนึ่งเป็นสายเชื่อมต่อลงดินหรือเดินสายร้อยท่อโลหะและใช้ท่อโลหะเป็นสายดินหรือถ้าเดินสายไฟฟ้าไว้เป็นชนิด 2 เส้น อยู่แล้ว ก็ให้เดินสายเพิ่มอีกเส้นหนึ่งเพื่อใช้เป็นสายดิน โดยที่สายดินที่ใช้จะต้องโตไม่น้อยกว่า 1/3 ของสายไฟฟ้าทั้งสองเส้นที่ใช้งานอยู่ หรือถ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดที่ไม่มีสายดินผู้ใช้งานก็ควรจะต่อสายดินจากโครงโลหะของเครื่องไฟฟ้านั้นลงดินโดยตรง ซึ่งอาจจะต่อสายดินเข้ากับท่อประปาที่เป็นโลหะหรือต่อเข้ากับแท่งโลหะไร้สนิม (Ground Rod) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ซ.ม ยาวไม่น้อยกว่า 150 ซ.มและฝังลึกจากผิวดินอย่างน้อย 30 ซ.ม ก็จะได้ระบบสายดินที่สมบูรณ์ อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นก็จะไม่มี

        2. การใช้ฉนวนป้องกันไฟฟ้า (Insulation)


         ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้าหรือหุ้มสายอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ นั้น เป็นสิ่งที่ชำรุดฉีกขาดได้ และฉนวนหุ้มสายจะชำรุดง่ายยิ่งขึ้นถ้าผู้ใช้งานใช้อย่างขาดการทะนุถนอมและไม่เอาใจใส่ เช่น การดึงหรือกระชากผ่าน ของมีคมหรือวัตถุที่มีขอบหรือมุมแข็ง การวางไว้ในทางที่มีการเหยียบไปมา หรือมีวัตถุหนัก ๆ เคลื่อนทับอยู่เสมอ ก็เป็นเหตุให้ฉนวนชำรุดเสียหายได้นอกจากนี้การต่อสายไฟฟ้าใช้งานอย่างชั่วคราวมักจะใช้ตะปูตอกกดทับไว้ ทำให้ฉนวนชำรุด กลายเป็นสายเปลือยไปจุดต่อ ต่าง ๆ ที่ต่อไว้มิได้มีการพันฉนวนป้องกันซึ่งจะกลายเป็นจุดอันตรายไปด้วยสิ่งเหล่านี้ถ้าผู้ใช้งานละเลยไม่ให้ความเอาใจใส่
ก็จะนำอันตรายมาสู่ตัวผู้ใช้งานได เพื่อเป็นการป้องกัน จึงควรหมั่นตรวจสภาพฉนวนของสายไฟฟ้าหรือสายอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เพื่อหารอยแตกปริ หรือฉีกขาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงขั้วต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ขั้วหลอด ปลั๊ก ถ้าพบว่ามีการชำรุดอย่าปล่อยทิ้งไว้ควรรีบซ่อมแซมหรือเปลี่ยนทันที
  3. การใช้สวิตช์ตัดวงจรอัตโนมัติ (Earth leakage circuitbreaker)
        อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนี้ เป็นอุปกรณ์ที่สามารถตัดวงจรไฟฟ้าทันทีที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วไหลออกจากวงจรการทำงานอุปกรณ์ชนิดนี้คือ ปกติในวงจรไฟฟ้าจะมีกระแสไฟฟ้าไหลในสายไฟทั้ง 2 สายเท่ากัน แต่เมื่อเกิดมีกระแสไฟฟ้ารั่วไหลลงดิน โดยผ่านร่างกายหรือผ่านตัวนำอื่น ๆ ก็ตาม กระแสไฟฟ้าที่ไหลในสายทั้งสองจะไม่เท่ากัน เมื่อเกิดภาวะดังกล่าว อุปกรณ์ตรวจสอบการรั่วของกระแสไฟฟ้าจะส่งสัญญาณไปยังสวิตช์อัตโนมัติ ซึ่งทำหน้าที่ตัดวงจรทันทีก่อนที่จะมีผู้ได้รับอันตรายจากกระแสไฟฟ้านับว่าเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์ดังกล่าวยังมีราคาแพงอยู่มาก
อ้างอิง :  http://www.krusam.net/krusam.htm

7 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  3. เป็นประโยชน์มากเลยจ้า หนู สนใจเรื่องราว เรื่องแนะนำจิปาถะทั่วไป

    ตอบลบ
  4. เป็นประโยชน์มากเลยจ้า หนู สนใจเรื่องราว เรื่องแนะนำจิปาถะทั่วไป

    ตอบลบ
  5. Casinos in Malta - Filmfile Europe
    Find https://septcasino.com/review/merit-casino/ the best septcasino Casinos in Malta including bonuses, games, games and the history of games. We cover all the 토토 사이트 main reasons to visit jancasino Casinos 나비효과 in

    ตอบลบ
  6. The Rise and Fall of an Unofficial SEGA Genesis Video Game
    In addition 우리카지노 to 우리카지노 the fact that the game's

    ตอบลบ